ในช่วงการเดินทางเทศกาลปีใหม่ มีเสียงสะท้อนมากจากประชาชนที่ไปใช้บริการรถโดยที่สถานีขนส่งหมอชิต ตั้งข้อสังเกตว่า ทำไมค่าตั๋วรถปีนี้ แพงกว่าปกติ บางคนขึ้นจากกรุงเทพ จะไปลงจังหวัดระหว่างทาง แต่กลับถูกคิดราคาเท่ากับคนที่นั่งไปจนถึงปลายทาง จึงอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงมาตรวจสอบเรื่องนี้
ทีมข่าวพีพีทีวี ได้รับการร้องเรียนจากประชาชนที่มาใช้บริการรถโดยสารเดินทางกลับช่วงปีใหม่ที่สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ(จตุจักร) หรือ หมอชิต2
สส.ก้าวไกล แฉ! 14 จุดความพังหมอชิต 2 ไร้การปรับปรุง
'หมอชิต-ดอนเมือง' แน่น! ประชาชนเดินทางกลับช่วงเทศกาลปีใหม่
โดยผู้โดยสารหลายคน ตั้งข้อสังเกตว่าราคาตั๋วรถโดยสารแพง กว่าทุกช่วงเทศกาลที่ผ่านมา และพบว่าในบางเส้นทาง ผู้โดยสารต้องจ่ายเงินเต็มราคา ทั้งที่ไม่ได้ลงจังหวัดปลายทางคำพูดจาก สล็อต true wallet
อย่างเช่น นางอรพรรณ ธรรมวงศ์ ชาวจังหวัดลำปาง ตอนไปซื้อตั๋ว บอกกับพนักงานที่ช่องจำหน่ายตั๋วจะเดินทางไปที่อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง แต่ตั๋วที่ได้ เป็นรถกรุงเทพฯ – เชียงใหม่ ก็ไม่ได้ติดใจอะไร เพราะคิดว่า ช่วงเทศกาลรถอาจจะจอดแวะส่งได้ แต่พอมาดูราคาตั๋ว ปรากฎว่า ราคา 693 บาท ซึ่งเธอบอกว่า ที่เคยซื้อประจำไม่ใช่ราคานี้ เลยตั้งข้อสังเกตว่า ตั๋วที่ซื้อมาแพงเกินความเป็นจริง แต่ต้องยอมจ่ายเพราะอยากจะรีบกลับบ้านไปฉลองปีใหม่กับครอบครัว
ส่วนอีกคน ทีมข่าวไปพูดคุยกับ นางจิตรประสม ปัดถามัง จะเดินทางไปจังหวัดกำแพงเพชร แต่ตั๋วที่ได้มาเป็นรถ กรุงเทพฯ – เชียงใหม่ ราคา 693 บาท เหมือนกัน ซึ่งตอนไปซื้อตัว พนักงานที่อยู่หน้าช่องขายตั๋วบอกกับเธอว่า ซื้อตั๋วช่องไหนก็ได้ ราคาเท่ากัน ทำให้เธอ ต้องจ่ายค่าตั๋วแพงขึ้น จากปกติ 400 ถึง 500 บาท แต่ ครั้งนี้ ต้องจ่าย เกือบ700 บาท ทั้งที่เธอไม่ได้ไปลงปลายทางที่จังหวัดเชียงใหม่
ทีมข่าว ลงพื้นที่ไปสำรวจที่หน้าช่องจำหน่ายตัว พบว่า มีการเขียนป้ายราคาติดไว้ ป้ายใหญ่เหนือช่องจำหน่ายตั๋ว ระบุว่า เดินทางไป กำแพงเพชร รถ ม.1 ราคา 313 บาท ส่วนรถ ม.1พ หรือรถ VIP ราคา365 บาท ถ้าเดินทางไปเชียงใหม่ รถ ม.1 ราคา 594 และ รถ ม.1พ ราคา 693 บาท แต่เกือบทุกช่อง จะมีกระดาษขนาด เอ 4 ติดไว้ เขียนว่า รถเสริม กรุงเทพฯ – เชียงใหม่ 693 บาท
ซึ่งเรื่องนี้ บริษัท ขนส่ง จำกัด หรือ บขส. ออกมาชี้แจง ระบุว่า ในช่วงเทศกาล ได้ขอความร่วมมือให้เอกชนได้นำรถเสริม หรือ รถ 30 ( สามศูนย์) เข้ามาให้บริการประชาชน ซึ่งราคาตั๋วจะแพงกว่า รถโดยสารทั่วไป เนื่องจะมีต้นทุนที่สูงกว่า รถประจำทาง เพราะหลังส่งผู้โดยสารที่ปลายทาง ขากลับต้องตีรถเปล่ากลับ ไม่สามารถรับผู้โดยสารได้ จึงต้องคิดราคา แบบต้นทาง ถึงปลายทาง ซึ่งแตกต่างจากรถโดยสารปกติที่คิดตามระยะทาง ซึ่ง บขส. ได้เน้นย้ำให้รถเสริมมีการติดป้ายแสดงค่าโดยสารอย่างชัดเจน เพื่อเป็นทางเลือกให้ผู้โดยสารพิจารณา
ขณะที่ ทีมข่าวพีพีทีวี ยังได้รับข้อมูลว่า มีผู้โดยสารบางรายที่ถูกคิดค่าตั๋วในราคารถเสริม แต่เมื่อไปถึงรถที่โดยสาร ไม่ใช่รถสามศูนย์ หรือ รถเสริม แต่เป็นรถโดยสารประจำทางปกติ ลายฟ้าขาว มีหมายเลขข้างรถชัดเจน จึงอยากให้เจ้าหน้าที่ขนส่ง เข้มงวดการจำหน่ายตั๋วโดยสาร เพื่อไม่ให้ฉวยโอกาสเอาเปรียบในช่วงเทศกาล
ข้อมูล จาก บขส. คาดการณ์ ในช่วงเทศกาลปีใหม่จะมีผู้โดยสารเดินทาง ประมาณ 70,000 คน จัดเตรียมรถโดยสาร ไว้กว่า 4000 เที่ยว ส่วน วันที่มีผู้โดยสารเดินทางมากที่สุดคือ เมื่อวานนี้ 28 ธันวาคม ซึ่ง บขส. ได้จัดรถเสริม เข้ามาร่วมวิ่งให้บริการประชาชนในช่วงเทศกาลปีใหม่ 310 คัน คาดว่าจะเพียงพอต่อการให้บริการผู้โดยสาร ในช่วงเทศกาลปีใหม่
ส่วนการเดินทางโดยเครื่องบิน มีข้อมูลออกมาจาก นายกีรติ กิจมานะวัฒน์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (ทอท.) คาดการณ์ว่า ปริมาณเที่ยวบินและผู้โดยสารที่จะเดินทางผ่านท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2567 ระหว่างวันที่ 29 ธันวาคม 2566 – 4 มกราคม 2567 ทั้ง 7 วัน จะมีเที่ยวบินทำการบินเข้า – ออก ประมาณ 6,777 เที่ยวบิน เฉลี่ยวันละ 968 เที่ยวบิน ถือว่าเพิ่มขึ้นจากปีก่อนในช่วงเวลาเดียวกันร้อยละ 16.76
ด่วน! “เจนนี่ ได้หมดถ้าสดชื่น” พร้อมลูกสาว ประสบอุบัติเหตุรถคว่ำ แฟนๆ แห่ห่วง-ส่งกำลังใจ
พยากรณ์อากาศล่วงหน้า บอกลาอากาศเย็น! หลังจากนี้ร้อนขึ้น
29 ธ.ค. 66 ธนาคารหยุด! หลังแบงก์ชาติประกาศให้เลื่อนวันหยุดชดเชยสิ้นปี