นายวันชัย พนมชัย อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) เปิดเผยถึงทิศทางการโอนถ่ายอำนาจการตรวจสอบโรงงานให้กับผู้ตรวจสอบภาคเอกชน (เติร์ดปาร์ตี้) ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่วงการอุตสาหกรรมว่า การถ่ายโอนงานให้ผู้ตรวจสอบเอกชน (เติร์ดปาร์ตี้) แทนราชการ เป็นทิศทางและนโยบายที่ชัดเจนของรัฐบาลยุคนี้ ซึ่งกฎหมายกำหนดมาตั้งแต่ปี 35 แล้ว แต่ยังไม่คืบหน้าโดยมองว่า ราชการไม่ควรไปทำอะไรเองมากนัก อะไรที่ถ่ายโอนได้ ก็ควรถ่ายไป ถ้าเราทำเองทั้งหมด อาจมีปัญหาเรื่องความล่าช้า เพราะคนของเรามีน้อย มีกลไกขั้นตอนราชการ หรือเรื่องต่างๆ สารพัด เพียงแต่ว่า การถ่ายโอนให้ภาคเอกชน ต้องไม่กระทบกระเทือนเรื่องความมั่นคง หรือเรื่องที่อ่อนไหว ไม่ควรถ่ายออกไป แต่ถ้าเป็นเรื่องเชิงวิชาการที่ไม่ได้กระทบอะไรมาก ก็ถ่ายได้ ช่วยให้ความรวดเร็วขึ้น ดึงดูดความน่าสนใจการขยายกิจการของผู้ประกอบการ ช่วยเรื่องโปร่งใสตรวจสอบได้ ราชการได้มีเวลาไปคิดนโยบายส่งเสริมในเรื่องอื่นๆ” เล่าถึงที่มาก
ถามว่า ทำไมต้องถ่ายโอนอำนาจการตรวจสอบโรงงานให้กับผู้ตรวจสอบภาคเอกชน ซึ่งเป็นบุคคลที่ 3 (เติร์ดปาร์ตี้)? ดี หรือเสียอย่างไร!!! แล้วจะเกิดการฮั้วกันของเจ้าของโรงงาน กับเติร์ดปาร์ตี้ จนสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนในพื้นที่หรือไม่ หรือจะมีปัญหาการโขกค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบ จนสร้างภาระเพิ่มเติมให้กับผู้ประกอบการ โดยเฉพาะภาคเอสเอ็มอีหรือไม่ อย่างไร??? หลากหลายคำถามที่แสดงความกังวลทั้งเจ้าของโรงงาน และประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ใกล้โรงงานคงอยากรู้คำตอบให้กระจ่างที่สุด???
นายวันชัย พนมชัย อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) ที่เข้ามาลุยผลักดันเต็มสูบ ทะลวงในทุกมิติ ได้มาฉายภาพให้เห็นถึงนโยบายการถ่ายโอนอำนาจครั้งใหญ่นี้ว่า เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ มีมาตั้งแต่พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศคำพูดจาก ฟรี เกมสล็อตทดลองเล่น. 2535 กำหนดบทบัญญัติตามมาตรา 9 ที่ระบุว่า อาจกำหนดให้เอกชนสามารถตรวจโรงงาน หรือเครื่องจักรและจัดทำรายงานผลการตรวจสอบแทนการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ ซึ่งที่ผ่านมา กรอ.เคยพยายามทำมาแล้วในการแต่งตั้งผู้ตรวจสอบเอกชน แต่ยังไม่มีผู้ตรวจสอบรายไหนสอบผ่าน ตอนนี้กำลังพิจารณาว่า ที่สอบไม่ผ่าน เพราะข้อสอบยากเกินไปหรือไม่ อย่างไร หรือเกิดจากปัญหาอะไร ที่ทำให้การถ่ายโอนไม่สำเร็จ ที่ผ่านมาจึงได้แก้ไข พ.ร.บ.ฯ เมื่อปี 62 กำหนดเงื่อนไขเวลาชัดเจน ต้องทำให้แล้วเสร็จ!
“ที่ผ่านมา กรอ.ได้แก้ไข พ.ร.บ.ฯ ให้ผู้ประกอบการไม่ต้องขออนุญาตต่ออายุใบประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง.4) จากเดิมที่ต้องต่ออายุใหม่ทุก 5 ปี ที่แก้ไขเพราะต้องกาให้การดำเนินกิจการของผู้ประกอบการสะดวกรวดเร็วขึ้น ปิดช่องการกล่าวอ้างเรื่องเจ้าหน้าที่รัฐแสวงหาประโยชน์ แล้วถ่ายโอนให้เติร์ดปาร์ตี้ เข้าไปตรวจสอบแทนเท่าที่จำเป็นประมาณ 3 ปีต่อครั้ง เบื้องต้นได้กำหนดภายในปีนี้จะเริ่มแต่งตั้งเติร์ดปาร์ตี้ ให้ได้ก่อน 50-100 ราย ต้องทำให้เกิดให้ได้ คาดว่า จะเริ่มประกาศถ่ายโอนอำนาจให้เติร์ดปาร์ตี้ ได้ภายในปีหน้า และให้เวลาโรงงานต่างๆ ปรับตัว 1 ปี เริ่มใช้จริงภายในปี 67 ที่ต้องส่งรายงานข้อมูลต่างๆ เช่น การตรวจคุณภาพน้ำ ผลกระทบเรื่องเสียง รายงานการเก็บวัตถุดิบ การกำจัดกากอุตสาหกรรมต่างๆ”
ระยะแรกจะเริ่มจากโรงงานขนาดใหญ่ประมาณ 2,000 โรงงานก่อน เช่น โรงงานปิโตรเคมี จากโรงงานทั้งหมดทั่วประเทศมีประมาณ 70,000 โรงงาน เนื่องจากมีศักยภาพในการทำแบบฟอร์มต่างๆ เป็นการนำร่องดูว่า ยังมีจุดบกพร่องอะไรที่ต้องปรับแก้ไขอย่างไร เพราะหากเริ่มจากโรงงานขนาดเล็ก หรือเอสเอ็มอี บางส่วนยังไม่มีความพร้อม อาจทำให้การโอนถ่ายอำนาจสะดุดได้ จึงต้องเริ่มจากโรงงานขนาดใหญ่ที่มีความพร้อมก่อน คาดว่า ภายใน 2-3 ปี การถ่ายโอนอำนาจให้เติร์ดปาร์ตี้ จะเข้าที่ทั้งหมด ระหว่างทาง กรอ.และอุตสาหกรรมจังหวัด จะเป็นพี่เลี้ยงอบรมเสริมความรู้อย่างต่อเนื่อง เพื่อทำให้ทุกอย่างเกิดประสิทธิผลสูงสุด
ส่วนเรื่องค่าใช้จ่ายในการจ้างเติร์ดปาร์ตี้ มาตรวจ กรอ.ได้กำหนดค่าธรรมเนียม เป็นธรรมอย่างเหมาะสม ไม่สามารถคิดได้ตามอำเภอใจ ประมาณ 5,000-20,000 บาท ขึ้นอยู่กับขนาดของโรงงาน ความยากง่ายในการตรวจสอบ โรงงานเอสเอ็มอีจะเสียค่าใช้จ่ายไม่สูงมาก เมื่อเทียบกับโรงงานขนาดใหญ่ เป็นค่าใช้จ่ายคล้ายกับที่โรงงานเคยเสียค่าธรรมเนียมในการต่อใบอนุญาต 5 ปีอยู่แล้ว ยกเลิกตรงส่วนนั้น มาเสียส่วนนี้แทน
ข้อดีที่เห็นชัดๆ จะช่วยแก้ปัญหาการทุจริต คอร์รัปชั่นในการพิจารณาขออนุมัติ อนุญาต ทั้งทางตรงและทางอ้อม ช่วยลดขั้นตอน และระยะเวลาติดต่อประสานงานกับหน่วยงานราชการ ลดระยะเวลาในการพิจารณาการขออนุมัติ อนุญาต ในกิจกรรมต่างๆ โดยเจ้าหน้าที่ไม่ต้องเสียเวลาเข้าตรวจสอบโรงงาน หรือเครื่องจักรอีก สามารถใช้ข้อมูลจากการตรวจสอบของผู้ตรวจสอบเอกชนมาประกอบการพิจารณาอนุมัติ อนุญาต ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานต่อไป สอดคล้องกับหลักการความยากง่ายในการประกอบธุรกิจ (Ease of Doing Business) ซึ่งการนำระบบผู้ตรวจสอบเอกชน ถือเป็นการพัฒนานำศักยภาพของเอกชนมาช่วยสนับสนุนการทำงานของภาครัฐที่มีอัตรากำลัง และงบประมาณอย่างจำกัดไปดำเนินงานในส่วนที่ไม่สามารถให้เอกชนทำแทนได้
ยกตัวอย่างทุกวันนี้การตรวจสอบโรงงานทั่วประเทศมีมากกว่า 70,000 โรงงาน มีเจ้าหน้าที่ของ กรอ. และอุตสาหกรรมจังหวัดไม่ถึง 1,000 รายที่ตรวจสอบได้ จึงไม่น่าแปลกใจที่ทำไมที่ผ่านมาถึงถูกร้องเรียนว่า “ล่าช้าตลอด” โดยอำนาจการตรวจสอบโรงงานหรือเครื่องจักร ที่จะตรวจสอบแทนเจ้าหน้าที่ เช่น ตรวจสอบ หรือรับรองรายงานผลการปฏิบัติการตามกฎหมายที่ผู้ประกอบการโรงงานต้องรายงานผลหลังจากได้รับใบอนุญาต ร.ง.4 เช่น ข้อมูลด้านสารเคมี ข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม การระบายน้ำทิ้งมีค่าเป็นไปตามมาตรฐานน้ำทิ้งหรือไม่ และข้อมูลด้านความปลอดภัย ของหม้อไอน้ำประจำปีหรือไม่ เพื่อให้เจ้าหน้าที่นำรายงานผลการตรวจสอบมาใช้ประกอบการขออนุมัติ อนุญาตจาก กรอ.หรือสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด ในการขออนุญาตขยายโรงงาน หรือขอเริ่มประกอบกิจการโรงงาน หลังหยุดดำเนินงานติดต่อกันเกินกว่าหนึ่งปีคำพูดจาก ทดลองสล็อต pg
สำหรับคุณสมบัติเติร์ดปาร์ตี้ ต้องเป็นบุคคลที่ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน กับโรงงาน ต้องมาสอบรับใบอนุญาตกับ กรอ.ก่อน ไม่มีอำนาจการอนุมัติ อนุญาต หรือสั่งการโรงงานได้ จะเป็นการรายงานการตรวจสอบให้กับเจ้าหน้าที่ ซึ่งเจ้าหน้าที่ กรอ. หรืออุตสาหกรรมจังหวัด ยังมีอำนาจในการขอเข้าตรวจสอบโรงงาน หากมีข้อสงสัย หรือประชาชนในพื้นที่ร้องเรียนการดำเนกิจการของโรงงาน แม้ว่า ทางเติร์ดปาร์ตี้ จะเข้าตรวจสอบแล้วก็ตาม และหากพบว่า เติร์ดปาร์ตี้ รายใด ฮั้วกับเจ้าของโรงงาน เพื่อหลีกเลี่ยงการทำตามกฎหมาย เติร์ดปาร์ตี้ รายนั้น จะถูกยึดใบอนุญาต และยึดเงินประกันที่วางไว้กับ กรอ. รวมทั้งโรงงานจะต้องถูกลงโทษด้วยเช่นกัน การตรวจสอบทุกอย่างยังเข้มข้นกับผู้ที่ทำผิดกฎหมาย แต่จะอำนวยความสะดวกให้กับผู้ที่ทำถูกกฎหมาย
อย่างไรก็ตามที่ผ่านมา กรอ.ได้เดินหน้าถ่ายโอนภารกิจกำกับดูแลโรงงานจำพวกที่ 1 หรือโรงงานที่สามารถประกอบกิจการโรงงานได้ทันที และจำพวกที่ 2 โรงงานที่ใช้เครื่องจักรตั้งแต่ 50 แรงม้าแต่ไม่เกิน 75 แรงม้า หรือมีคนงานตั้งแต่ 50 คนขึ้นไป แต่ไม่เกิน 75 คน ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ได้แก่ กรุงเทพมหานคร (กทม.) เทศบาล และเมืองพัทยา เรียบร้อย 1,860 โรงงาน โดยในส่วน กทม. 660 โรงงาน เทศบาลและเมืองพัทยา 1,200 โรงงาน เป็นไปตามบทบาทอำนาจควบคุมดูแลกิจการโรงงานในพื้นที่ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน ตั้งแต่ปี 52 ซึ่ง กรอ.ได้สนับสนุน แนะนำและให้คำปรึกษาทางเทคนิควิชาการ และดำเนินการฝึกอบรมให้พนักงานเจ้าหน้าที่ กทม. เทศบาล และเมืองพัทยา ในการปฏิบัติภารกิจตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานอย่างต่อเนื่อง ซึ่ง กรอ.พร้อมเป็นพี่เลี้ยงให้แก่ อปท. ที่มีการถ่ายโอนภารกิจทั่วประเทศ เพื่อให้การกำกับดูแลโรงงาน ปฏิบัติตามกฎหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ และได้เตรียมความพร้อมจัดการฝึกอบรมเพิ่มเติมในปีต่อไปอีกด้วย อธิบดีกรมโรงงานฯ กล่าวปิดท้าย