เป็นประเด็นร้อนชั่วข้ามคืน! กรณี ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2566
ประเด็นสำคัญคือการปรับคุณสบัติผู้มีสิทธิ์รับ “เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ” หรือ “เบี้ยคนชรา” ต้องเป็น ผู้ไม่มีรายได้ หรือ มีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ ตามคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติตามกฎหมายว่าด้วยผู้สูงอายุ
แม้ในบทเฉพาะกาล จะกำหนดด้วยว่าระหว่างที่คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ ยังไม่ได้กำหนดคุณสมบัติ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพิจารณาตามระเบียบเก่าเพื่อจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไปพลางก่อน แต่การปรับหลักเกณฑ์ครั้งนี้ ส่งผลให้มีการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง
เพราะจะทำให้ “เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ” ไม่ถูกจ่ายให้กับผู้สูงอายุแบบถ้วนหน้าอีกต่อไป
อย่างไรก็ตาม เมื่อสืบค้นข้อมูลพบว่า ช่วงการเลือกตั้ง 2566 มีหลายพรรคการเมืองได้นำเสนอนโยบายเกี่ยวกับผู้สูงอายุไว้อย่างน่าสนใจ PPTV รวบรวมมานำเสนอ ดังนี้
“ก้าวไกล” จ่ายผู้สูงวัย 3,000 บาทต่อเดือน
ก้าวไกล นำเสนอนโยบายเงินผู้สูงวัยเดือนละ 3,000 บาท เพิ่มเงินผู้สูงวัยให้เป็นอัตราเดียวแบบถ้วนหน้า เดือนละ 3,000 บาท ภายใน 4 ปี
โดย ก้าวไกล อธิบายว่า เพื่อให้ผู้สูงอายุมีรายได้เพียงพอต่อการดำรงชีพ และมีความมั่นคงทางการเงินเพิ่มขึ้น เพื่อแก้ปัญหาสังคมไทยที่ยังไม่มีความมั่นคงทางการเงินหรือที่เรียกว่าสภาวะแก่ก่อนรวย
“พลังประชารัฐ” เพิ่มขั้นบันได 3,000 – 5,000 บาท
พลังประชารัฐ นำเสนอนโยบายเพิ่มเบี้ยผู้สูงอายุ เพื่อสานต่อนโยบายสวัสดิการประชารัฐ กำหนดเสนอแนวทางการเพิ่มเบี้ยยังชีพสำหรับผู้สูงอายุแบบขั้นบันได ภายใต้แคมเปญ “เพิ่มเบี้ยผู้สูงอายุ 3 4 5 และ 6 7 8”
หมายถึง ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปจะได้รับ 3,000 บาทต่อเดือน , อายุ 70 ปีขึ้นไป ได้รับ 4,000 บาทต่อเดือน และอายุ 80 ปีขึ้นไป ได้รับ 5,000 บาทต่อเดือน
“รวมไทยสร้างชาติ” ให้ 1,000 บาททุกช่วงอายุ
รวมไทยสร้างชาติ นำเสนอการปรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ และปรับวงเงินบัตรสวัสดิการแห่งรัฐคู่ขนานกันไป โดยปรับอัตราเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเป็น 1,000 บาทต่อเดือนทุกช่วงอายุ พร้อมปรับวงเงินบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเป็น 1,000 บาต่อเดือน
ไฮไลต์สำคัญของ รวมไทยสร้างชาติ คือ การจัดระบบวงเงินฉุกเฉินรายละ 10,000 บาท ควบคู่กับการจูงใจทางภาษีให้เอกชนจ้างงานผู้สูงวัยเพิ่มขึ้น
“ไทยสร้างไทย” เปิดบำนาญประชาชน 3,000 บาท
ไทยสร้างไทย นำเสนอนโยบายบำนาญประชาชน 3,000 บาท โดยเห็นว่าการเปด็นสร้างหลักประกันรายได้ของผู้สูงอายุในวัยเกษียณ และประเทศไทยเป็นประเทศกำลังพัฒนาประเทศแรกที่มีสัดส่วนประชากรผู้สูงวัยสูงที่สุดในโลก ขณะเดียวกันคนแก่ไทยส่วนใหญ่ ยังมีภาวะแก่ก่อนรวย คือมีฐานะยากจน และสุขภาพไม่ดีอีกด้วย
สำหรับบำนาญประชาชน เดือนละ 3,000 บาท ถูกคำนวณมาจากการทำให้ผู้สูงอายุมีรายได้ 100 บาทต่อวัน เพื่อให้เพียงพอต่อการยังชีพรายวัน
ขณะที่พรรคการเมืองอื่นๆ แม้จะไม่มีการระบุข้อมูลเกี่ยวกับนโยบบายเบี้ยยังชีพโดยตรง แต่ทุกพรรคก็มีนโยบายที่เกี่ยวข้องผู้สูงอายุอย่างหลากหลาย
“ชาติไทยพัฒนา” สร้างงาน สร้างรายได้ผู้สูงอายุ
ชาติไทยพัฒนา นำเสนอแผนปฏิบัติการเร่งด่วน สร้างประเทศที่ยั่งยืน เพื่อลูกหลานไทย ผ่านแคมเปญ WOW Thailand สร้างงาน สร้างรายได้ แก่ผู้สูงอายุ และเบี้ยคนพิการ เดือนละ 3,000 บาท ส่งเสริมการจ้างงานในระดับท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การดูแลสิ่งแวดล้อม ศูนย์รับบริจาคสิ่งของเหลือใช้ งานประชาสัมพันธ์ชุมชน และหน่วยงานราชการ ฯลฯคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
โดยจ้างงานผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ว่างงาน เพื่อเป็นรายได้เสริม และสร้างกิจกรรมทางสังคม สร้างความผูกพันในชุมชน ผลักดันเบี้ยคนพิการ เดือนละ 3,000 บาท เพื่อส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
“เพื่อไทย” ยกระดับ 30 บาทรักษาทุกโรค
เพื่อไทย ไม่มีนโยบายแน่ชัดเกี่ยวกับเบี้ยผู้สูงอายุ แต่ประกาศยกระดับโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค โดยใช้บัตรประชาชนใบเดียวรักษาได้ทั่วไทย นัดคิวออนไลน์ ตรวจเลือดคลินิกใกล้บ้าน ขณะเดียวกันยังผลักดันให้ กทม.มีโรงพยาบาลประจำครบ 50 เขตอีกด้วย
“ภูมิใจไทย” ดันกองทุนประกันชีวิตคนชรา
ภูมิใจไทย นำเสนอนนโยบายจัดตั้งกองทุนประกันชีวิต 60 ปีขึ้นไป โดยผู้สูงอายุจะได้รับสิทธิในกรมธรรม์ประกันชีวิตโดยอัตโนมัติ ไม่เสียค่าใช้จ่าย ไม่ต้องจ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิต
ทั้งนี้ ภูมิใจไทย อธิบายเหตุผลสำคัญ 2 ประการ
ในวันที่อยู่ ผู้สูงวัยจะไม่เป็นภาระของลูกหลาน มีสิทธิกู้เงินเพื่อประกอบอาชีพและหาเลี้ยงตัวเองได้ในวงเงิน 20,000 บาท โดยไม่ต้องมีผู้ค้ำประกัน แต่จะใช้กรมธรรม์ประกันชีวิตที่รัฐบาลทำให้ค้ำประกันตัวเอง
ในวันที่จากไป ผู้สูงวัยไม่สร้างภาระให้ลูกหลาน โดยหากเสียชีวิตทุกคนจะได้รับเงินจากกองทุนประกันชีวิตรายละ 100,000 บาท เพื่อเป็นมรดกให้ครอบครัวและลูกหลาน
“ประชาธิปัตย์” ตั้งชมรมผู้สูงอายุรับ 30,000 บาท
ประชาธิปัตย์ นำเสนอนโยบาย จัดตั้ง ชมรมผู้สูงอายุ รับ 30,000 บาท ทุกหมู่บ้าน ทุก ชุมชน เป็นมาตรการเพื่อรองรับการก้าวไปสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์
โดยพรรคอธิบายว่า เป็นการต่อยอดสวัสดิการที่ผู้สูงอายุได้เป็นรายเดือน เพื่อส่งเสริมคุณภาชพีวิตของผู้สูงอายุอย่างรอบด้าน 3 ประการ คือ การพัฒนาอาชีพเสริมหลังวัยเกษียณ , การส่งเสริมสุขภาพอนามัย และ การส่งเสริมกิจกรรมยามว่าง
“ชาติพัฒนากล้า” สร้างงาน 1 ล้านตำแหน่งรับผู้สูงอายุ
ชาติพัฒนากล้า นำเสนอนโยบายสร้างสังคมผู้สูงอายุ ปรับรูปแบบการจัดสรรทรัพยากร และแบ่งงานกันทำในสังคมกันใหม่ ตามส่วนผสมของประชากรในแต่ละช่วงอายุที่เปลี่ยนไป
โดยผลักดันการสร้างตำแหน่งงาน 1 ล้านตำแหน่งเพื่อผู้สูงอายุ ส่งเสริมการทำงานที่ผู้สูงอายุทำได้ และทำได้ดี ผู้สูงอายุจำนวนมากที่แม้จะเกษียณมาจากหน้าที่การงานเดิมที่มีความรับผิดชอบสูง ก็สามารถที่จะเริ่มต้นการทำงานในตำแหน่งงานอื่นได้เช่นกัน พร้อมสนับสนุนเงินเดือนเดือนละ 5,000 บาทสำหรับหน่วยงานที่จ้างผู้สูงอายุเข้าทำงาน